โครงการพระราชดำริ

                            โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหวด

                           
พระราชดำริ :
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แนวพระราชดำริ :
          1 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานพัฒนาความว่า โครงการชลประทานต่างๆ ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว ควรจัดการให้ราษฎร มีการใช้น้ำอย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันดำเนินการ
          2. เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริถึงโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหวด จังหวัดสกลนคร ว่า ยังมีคนใช้ประโยชน์ไม่พอ เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่มาก มีน้ำมาก แต่ไม่มีคนใช้ประโยชน์จากน้ำเท่าที่ควร ทรงห่วงเรื่องการใช้น้ำ เพราะอ่างเก็บน้ำห้วยหวดทรงจำได้ว่ามีความจุ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร



ความเป็นมา :
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสร็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณลุ่มน้ำห้วยหวดและได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2524 ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหวดโดยเร่งด่วน เพื่อจัดหาน้ำส่งให้พื้นที่เพาะปลูก ของราษฎรหมู่บ้านน้อย , บ้านจันทร์เพ็ญ , บ้านบึงสาและหมู่บ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน-ฤดูแล้ง  และน้ำเพื่อทำการอุปโภค-บริโภค สำหรับราษฎรในบริเวณหมู่บ้านดังกล่าวได้ตลอดปี
          กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหวดเพื่อสนองพระราชดำริโดยมีลักษณะโครงการก่อสร้างเป็นเขื่อนดินปิดกั้นลำห้วยหวด บริเวณบ้านห้วยหวด ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร  ลักษณะเป็นเขื่อนดินสูง 26 เมตร ยาว 395 เมตร ความจุอ่างเก็บน้ำประมาณ  21 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำประมาณ 1,200 ไร่ พร้อมทั้งสร้างอาคารระบายน้ำชนิดรางเปิด มีสันทางระบายน้ำล้นยาว 35 เมตร ท่อส่งน้ำฝั่งซ้ายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.90 เมตร และท่องส่งน้ำฝั่งขวาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.30 เมตร และได้ดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำประกอบด้วยคลองส่งน้ำ จำนวน  7 สาย รวมความยาว 19.6 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างในปี 2526 และสร้างเสร็จในปี 2530 รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 105.40 ล้านบาท ส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรประมาณ 8,000 ไร่ ขอจำนวน 5 หมู่บ้าน ในเขตตำบลจันทร์เพ็ญและตำบลเต่างอย จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อเกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำจำนวน 7 กลุ่ม
          สถานการณ์น้ำปัจจุบัน ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก ( ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2556 ) 19.30 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 92 %
          - ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2556
                   เป็นข้าวนาปี               7,340             ไร่
          - ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 55/56     รวม 1,559 ไร่
                   แยกเป็นข้าวนาปรัง       571     ไร่
                   พืชไร่                          515     ไร่
                   มะเขือเทศ                  145      ไร่
                   บ่อปลา                       114      ไร่
                   อื่นๆ                            241     ไร่
วัตถุประสงค์โครงการ :
          1.เพื่อให้เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชลประทานอย่างเต็มที่
          2.เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเป็นแหล่งเรียนรู้
          3.เพื่อให้ภาคีทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
                   
ผู้ได้รับประโยชน์ :
          ราษฎรหมู่บ้านน้อย , บ้านจันทร์เพ็ญ , บ้านบึงสาและหมู่บ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

รายละเอียดของโครงการ

        อาคารหัวงานและอาคารประกอบ


                 - เป็นเขื่อนดินปิดกั้นลำห้วยหวด (ลุ่มน้ำก่ำ )    

                 - พิกัด  48 QVD 120-720 ระวาง 5842  IV  หรือ UTM 312100 E  1872200 N
                               
                 - เริ่มก่อสร้างในปี 2526 และสร้างเสร็จในปี 2530
                                                                         
                 - ลักษณะเป็นเขื่อนดิน กว้าง 6.00 เมตร  สูง 26.00 เมตร  ยาม 395 เมตร
                         
                 - พื้นที่รับน้ำฝน                                      49.00 ตร.กม.
             
                 - ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยปีละ         74       ล้าน ลบ.ม.
   
                - ระดับหลังทำนบดิน                           +209.50 ม.-รทก.

                - ระดับน้ำสูงสุด                                  +209.20 ม.-รทก.
                                                           
                - ระดับน้ำเก็บกัก                                +207.50  ม.-รทก.
 
                - ระดับน้ำต่ำสุด                                  +192.50  ม.-รทก.
                                                             
                - ปริมาตรน้ำสูงสุด                                  24.00  ล้าน ลบ.ม.
                                                       
                - ปริมาตรน้ำเก็บกัก                                21.00  ล้าน ลบ.ม.
 
               - ปริมาตรน้ำต่ำสุด                                  1.285  ล้าน ลบ.ม.

               - พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก                      1.800  ตร.กม.

              - อาคารระบายน้ำชนิดรูปตัว U (คสล)       ขนาด 33.00 เมตร    ยาว 550.50 เมตร

ระบบส่งน้ำและระบายน้ำ
        ประกอบด้วยคลองส่งน้ำ จำนวน 7 สาย รวมความยาวประมาณ  21.348  กิโลเมตร
สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 8,000 ไร่ ดังนี้

คลองส่งน้ำ
ความยาว (ม.)
LMC
3,185
1R- LMC
6,600
1 L - 1 R  - LMC
1,800
1 R - 1 L - 1R - LMC
1,400
3 L - 1 R -LMC
1,870
2 R - LMC
2,930
RMC
3,593

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :  
          ผลการดำเนินงาน ปี 2551
          1.  จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ 5 ศูนย์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างราษฎรและหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานร่วมกันส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร โดยมีการสาธิตปุ๋ยอินทรีย์และสารป้องกันศัตรูพืช พร้อมทั้งได้จัดหาปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และพันธุ์ปลา ให้กับศูนย์เรียนรู้ทั้ง 5 ศูนย์ด้วย นอกจากนี้ จะได้จัดการฝึกอบรมและทัศนศึกษาของราษฎร รวม 100 คน
         2.  ฝึกอบรมบุคคลภายนอกตามแผนงานพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง องค์กรผู้ใช้น้ำ โดยจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 คน รวม 120 คน จัดการศึกษาดูงานชลประทานของผู้นำชุมชนและผู้นำเกษตรกร หลักสูตร  1 วัน 30 คน และหลักสูตร 2 วัน 30 คน
          ประโยชน์ของโครงการ
          ทำให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการเพิ่มองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์แก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะได้นำไปขยายผลแก่ราษฎรให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพมากขึ้น อันจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น  ช่วยลดปัญหาการว่างงานและการอพยพแรงงาน เป็นการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

        ผลการดำเนินงาน ปี 2552
          อ่างเก็บน้ำห้วยหวดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2528 มีความจุระดับเก็บกัก 21 ล้านลูกบาศก์เมตร มีคลองส่งน้ำ จำนวน 7 สาย รวมความยาวประมาณ 21.348 กิโลเมตร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ 8,000 ไร่ในฤดูฝนและประมาณ 2,000 ไร่ ในฤดูแล้ง
          จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานการใช้ประโยชน์ที่ดินและน้ำชลประทาน ในปี 2550 พบว่าในฤดูฝนมีการเพาะปลูกพืชเต็มพื้นที่ 8,000 ไร่ ปริมาณน้ำที่ส่งให้แก่พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ในช่วงฤดูแล้งมีการเพาะปลูกพืชเพียง 587 ไร่ จากพื้นที่ที่สามารถส่งน้ำให้ได้ 2,000 ไร่ ปริมาณน้ำที่ส่งให้แก่พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1.3 ล้านลูกบาศก์เมตร
          สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน จังหวัดสกลนคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากน้ำชลประทาน โดยจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำชลประทาน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันดำเนินงานส่งเสริมการเพาะปลูกในฤดูแล้งตั้งแต่ปลายปี 2551 จนถึงปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกพืชแล้ว 1,200 ไร่ ประกอบด้วย
          1.    ข้าวนาปรัง                                                   727       ไร่
          2.    ข้าวโพดฝักอ่อน                                           219       ไร่
          3.    มะเขือเทศโรงงาน                                        124       ไร่
          4.    ข้าวโพดฝักสด                                               82       ไร่
          5.    อื่นๆ (ถั่วลิสง , แตงโม)                                   48       ไร่



ที่มาข้อมูล : 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น